วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าเรียน  08.30   เวลาเลิกเรีนย  12.20

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
    วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ  1 แผ่น  ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาดิฉันวาดรูป   ปู   ค่ะ เพราะเป็นสิ่งแรกที่นึกขึ้นได้แล้วปูมันก็มี 8 ขาพอวาดภาพเสร็จ แล้วอาจารย์ก็ให้ใส่รองเท้าให้มัน

    จากกิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าการวาดรูปสัตว์กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในศิลปะสร้างสรรค์ได้

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
   สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยและเพื่อให้เข้าใจตรงกัน

กิจกรรม 
อาจารย์ให้จับคู่แล้วแจกกระดาษให้คิด กิจกรรมเกี่ยวกับสาระที่ 1 สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมของข้าพเจ้า



อาจารย์มีเพลงมาให้ร้องด้วย
     
              เพลงเข้าแถว
เข้าแถวเข้าแถว     อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวเชเชือน      เดินตามเพื่อนให้ทัน
อย่าเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว

             เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง              แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า      แล้วเอามาอยู่ในท่ายืนตรง

            เพลงซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง            ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน      หันตัวไปทางนั้นแหละ

           เพลงพาเหรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1  2  3  4  5  6 / 7  8  9 / แล้วก็  10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย   ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมืองลงข้างล่าง   ซ้ายขวาซ้าย   ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเราเดินเรียงแถว  พร้อมกัน  (ซ้ำ 2  รอบ)

                                                 ดร.สุภาพร  เทพยสุวรรณ
                                                 ดร.แพง       ชินวงค์
การนำไปใช้
1.รู้ว่าเวลาเราจะสอนคณิตศาสตร์เด็กเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาศิลปะได้
2.ได้ฝึกการคิดกิจกรรมในแต่ละสาระเพื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงได้
3.ได้ฝึกร้องเพลงคณิตศาสตร์สามารถนำเพลงมาสอนเด็กและสามารถแต่งเนื้อร้องใหม่ได้แต่ใช้ทำนองเพลงเดิม







วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3



บันทึกอนุทิน
วันที่ 21  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าเรียน  08.30 เวลาเลิกเรียน 12.10

สิ่งที่ได้รับความรู้วันนี้

       วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องเค้กสามารถนำมาประยุกต์กับคณิตศาสตร์ในเรื่องใดได้บ้าง
สามารถมาประยุกต์ในเรื่อง  ราคา  รูปทรง  การแบ่ง(การแบ่งเค้ก) ขนาด  น้ำหนัก    จำนวน(เทียน)
และสามารถเกี่ยวกับเดือนได้เช่นเด็กแต่ละคนเกิดวันที่เท่าไหร่  เดือนอะไร  พ.ศอะไร เด็กจะได้รู้ศัพท์ทางคณิตศาสตร์

    ในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราเราสามารถบูรณาการนำคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องได้
อาจารย์ให้ทำหนังสือเล่มเล็ก  คณิตศาสตร์จะประกอบเรื่องอะไรบ้างแล้วก็ระดมความคิดเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์

จากนั้นให้ร้องเพลง

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า     อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว          หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า  หลั่นลา                 หลั่นหล่า  หลั่น ลันลา หลั่นลา  หลั่นล้า

 เพลงนี้เกี่ยวกับเวลา/เรียงลำดับเหตุการณ์

สวัสดีคุณครูที่รัก              หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน     หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

หนึ่งปีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดารห์นั้นมีเจ็ดวัน    อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัส  ศุกร์  เสาร์  ลัล ลา ลัล ลา

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่นการนับเลขตั้งแต่ 1-10 หรือมากว่านี้
2.ตัวเลขเป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น  มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ ให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู้กัน  เหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกัน
5.การเปรียบเทียบ เด็กอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิ่งของทั้งสองสิ่งรู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า
6.การจัดลำดับ  เป็นการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่ง เช่น เรียงตามลำดับสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
7.รูปทรงและเนื้อที่ ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้วครูต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยมจัตุรัส  สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ความกว้่าง
8.การวัด ให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทางรู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆก่อนก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน

     อาจารย์แจกกระดาษแผ่นเล็กให้ 1 แผ่น ให้เขียนเวลาที่มาถึงมหาลัยแล้วให้ออกมาหน้าห้องเกณฑ์ คือ 8.00 น  คนที่มาก่อน 8.00 ให้อยู่ทางซ้ายมือ คนที่มา 8.00 น. ให้อยู่ตรงกลาง คนที่มาหลัง8.00ให้อยู่ขวามือของอาจารย์ โดยแบ่งดังนี้
ก่อน8.00 มี     3คน
8.00  ตรงมี    4 คน
หลัง  8.00 มี  14  คน
      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน แล้วเลือกของอะไรก็ได้มา 1 ชิ้น แล้วให้ตั้งเกณฑ์ ในกลุ่มหยิบ ดินสอ  ปากกา  ยางลบ  นาฬิกา  สมุด โดยตั้งเกณฑ์ว่า อุปกรณ์การเรียนกับของใช้
การตั้งเกณฑ์สามารถแยกประเภทของสิ่งของได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การนำไปใช้
1.การจัดประสบการณ์กับเด็กต้องจัดประสบการณ์เป็นรูปธรรมและสามารถมองเห็นได้ สามารถจับต้องได้
2.สามารถนำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้
3.เราสามารถแต่งเพลงใหม่ขึ้นมาเองได้โดยใช้ทำนองเพลงเดิม
4.รู้จักนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราหรือสิ่งที่ใกล้ตัวเช่น เรื่อง เค้ก สามารถนำมาประยุกต์กับคณิตศาสตร์ได้
5.เวลาจะแบ่งกลุ่มหรือทำกิจกรรมต่างๆต้องมีเกณฑ์





วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกอนุทิน
วันที่ 14  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

             ก่อนที่จะเริ่มเรียนอาจารย์มีตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์มาให้ทายว่าจะเป็นตัวเลขเกี่ยวข้องกับอะไรมีดังนี้   350  158   60   50    4915481   ซึ่งข้าพเจ้าได้ทายถูก 1 ตัวเลข คือเลข 158 ซึ่งกี่ยวข้องกับส่วนสูงของอาจารย์  ตัวเลขที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทายล้วนเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกับชีวิตประจำวันเรา  เช่น  เลขของบ้านเลขที่   ความสูง  อายุ

เนื้อหาที่เรียนวันนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
           คณิต  หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวฯทักษะทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ  การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างภูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
         เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่                         การรู้จักสังเกต เช่น  ทำไมประตูต้องเป็นสี่เหลี่ยม   การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่  การเพิ่มขึ้นและการลดลง  จะช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปยาก ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆสามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้

แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรเพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิธีสอน  วิธีการจัดกิจกรรม  การใช้สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ  ความสนใจ และความสามาถของเด็ก
3.จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้โดยใช้ของจริง  ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
สื่อที่ใช้มี 4 ประเภท  คือ วัสดุทำเอง  วัสดุราคาถูก  วัสดุเหลือใช้  วัสดุท้องถิ่น
4.จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
5.เปิดโอกาศให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ลงมือกระทำได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
6.ฝึกให้เด็กได้คิดเเก้ปัญหาให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มีอิสระในการค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเองให้มากที่สุด
7.จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9.จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์

        เมื่ออาจารย์สอนเสร็จก็ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คนแล้วแจกใบงานให้แต่ละกลุ่มทำเป็นMind  map ของตนเองก่อนแล้วก็ให้ทำ Mind map กลุ่มช่วยกันระดมความคิดพอทำ Mind  map กลุ่มเสร็จก็ไปเรียนรู้หัวข้ออื่นจากกลุ่มอื่นแล้วมีตัวแทนของกลุ่ม 1 คนอยู่ประจำกลุ่มเพื่ออธิบายเรื่องที่อาจารย์มอบหมายอธิบายเพื่อนกลุ่มอื่นให้เข้าใจ

การประยุกต์ใช้
1.เวลาจัดกิจกรรมให้เด็กต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กไม่ยากจนเกินไปจนเด็กทำไม่ได้ต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจและความสามารถของเด็กได้
2.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นได้
3.ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มได้เสนอและแสดงความคิดเห็นได้รู้จักการปรับตัวเข้ากับเพื่อนในกลุ่มรู้จักการทำงานเป็นทีม








บันทึกอนุทินครั้งที่1



บันทึกอนุทิน
วันที่  7 พฤษศจิกายน  2556
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


           วันนี้อาจารย์ได้อธิบายว่าวิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้อธิบายเกณฑ์การให้คะแนนและการแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ
เสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดในหัวข้อ  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง