วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สอนคณิตศาสตร์ให้ลูก

 


สรุปบทความเรื่องสอนคณิตศาสตร์ให้ลูก
      เมื่อพูดถึงเรื่องคณิตศาสตร์หลายคนคงจะส่ายหน้า ไม่ชอบ  ไม่เข้าใจ ยิ่งเรียนสูงยิ่งไม่เข้าใจ ยิ่งทำให้เบื่อไม่อยากเรียนและในที่สุดไม่ชอบคณิตศาสตร์
 หัวใจของคณิตศาสตร์สอนให้คนรู้จักคิด มีเหตุผล รู้จักประมาณ รู้ขอบเขต รู้ว่าอะไรเป็นไปได้รู้ว่าอะไรเป็นไปไม่ได้ คณิตศาสตร์สอนให้คนมองอะไรกว้างขึ้น และยังมองลึกกว่าคนทั่วไป

    การที่จะทำให้เด็กเก่งคณิตศาสคร์ได้นั้น ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก พ่อแม่จึงเป็นครูคณิตศาสตร์คนแรกของลูก

   ความจริงไม่ใช่เรื่องยาก ท่านสามารถสอนลูกปลูกฝังลูกได้โดยลูกไม่รู้ตัว
      เช่น  เมือพาลูกไปซุปเปอร์มาร์เก็ต ถ้าเป็นเด็กก็สามารถสอนเรื่องรูปทรงต่างๆ รูปทรงกลม ทรงเหลี่ยม จากป้านราคา สอนเรื่องบาท สตางค์ ของชนิดเดียวกันต่างยี่ห้อเปรียบเทียบว่าอันไหนถูกกว่าอันไหนแพงกว่า ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อย ก็ให้ลองบวกเลขรวมจำนวนเงินที่ต้องจ่า ถ้าให้ธนบัตรเท่านี้ จะได้รับเงินทอนเท่าไหร่  การหยิบน้ำปลา 1 ขวดสามารถสอนอะไรให้กับลูกได้บ้าง เช่นรูปทรงถ้าเด็กโตก็สอนเรื่องปริมาตร  ลิตร ถ้าเด็กโตมาอีกหน่อยก็สามารถให้หาเปอร์เซ็นส่วนประกอบของน้ำปลา 

     สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้   สิ่งรอบตัวสามารถนำมาประยุกต์สอนเด็กได้ เป็นการปลูกฝังให้เด็กรักคณิตศาสตร์โดยไม่รู้ตัวและไม่ต้องกลัวว่าคุณจะสอนไม่ได้ เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นๆสำหรับผู้ใหญ่ทั้วไปต้งรู้อยู่แล้ว อยู่ที่ตัวท่านจะเอาใจใส่แค่ไหนมากกว่า เมื่อเด็กรักคณิตศาสตร์ ชอบคณิตศาสตร์ เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กก็ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมเอง  คณิตศาสตร์ก็จะไม่เป็นยาขมของเด็กต่อไป

          
         

ขอขอบคุณ: นายแพทย์รุ่งโรจน์ ตรีนิติ



บันทึกอนุทิน





บันทึกอนุทิน
วันที่ 12 ธันวาคม 2556
ครั้งที่ 6

เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าเรียน 08.35  เวลาเลิกเรียน 12.15

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้

                             อาจารย์พูดถึงสาระทางคณิตศาสตร์พร้อมกับอธิบายสาระทั้ง 5 ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยยกตัวอย่างจากนาฬิกา


08.30
ชื่อ.....................นามสกุล.................ชั้นอนุบาล.............
วัน......................ที่...................เดือน...............พ.ศ.........
เวลา.....................................















         จากตัวอย่างจากนาฬิกาเวลาที่เด็กมาโรงเรียนเราก็ให้เด็กได้บันทึกเวลาให้เด็กได้คุ้นเคยกับตัวเลข
              จากเรื่องนาฬิกาเด็กสามารถเรียนรู้จากตัวเลข  รูปทรงของนาฬิกา  จำนวนนับ123   เรื่องเวลา
และคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์





สมุดปฏิทิน

        สามารถให้เด็กทำสัญลักษณ์ที่ตัวเลขของปฏิทิน เช่น วันนี้วันที่ 1 เดือนมกราคม 2556  ก็ให้กากบาททับวันที่ 1 ให้เด็กได้รู้จักตัวเลขรู้จักการนับเลข  การเพิ่มของวันที่แต่ละวัน และติดสติกเกอร์วันสำคัญของเดือนนี้ว่ามีวันสำคัญคือวันอะไร และ สามารถทำสัญลักษณ์ว่าเดือนนี้เพื่อนคนไหนเกิดในเดือนอะไร
   และวันนี้อาจารย์แจกดินน้ำมันแล้วก็แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้มาประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  และรูปทรงต่างๆ






ความสัมพันธ์ของวัตถุแต่ละอย่าง การมองเห็นจะแตกต่างกัน

เพลงที่ร้องวันนี้

เพลงขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง  ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ  จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี

เพลงนกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
อีก หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตัว

เพลง บวก ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วไม่เจอ             ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง   ไข่วันละฟอง(ซ้ำ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน     หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไ่ทุกวัน       สิบวันได้ไข่ 10 ฟอง

การนำไปประยุกต์ใช้
  สิ่งของบางอย่างเราสามารถเรียนรู้อะไรหลายอย่างจากสิ่งนั้นได้ เช่น นาฬิกา ที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างและสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นและการร้องเพลงสามารถนำไปสอนเด็กได้

ประเมินตนเอง
   วันนี้รู้สึกเพลินเพลินในการปั้นดินน้ำมันและการใช้ไม้เสียบลูกชิ้นมาประกอบเป็นรูปทรงต่างๆพอหลังๆเริ่มรู้สึกจะไม่ค่อยสนใจเรียนเริ่มหิวข้าวแต่กิจกรรมวันนี้สนุกมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
   วันนี้เพื่อนมาน้อยมากบรรยากาศในห้องเรียนเงียบเพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรมที่ทำ
ประเมินอาจารย์
  วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาและยกตัวอย่างได้ชัดเจนและมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำและให้ร้องเพลงสนุกสนานมากค่ะ





วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าเรียน  08.30   เวลาเลิกเรีนย  12.20

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
    วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ  1 แผ่น  ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาดิฉันวาดรูป   ปู   ค่ะ เพราะเป็นสิ่งแรกที่นึกขึ้นได้แล้วปูมันก็มี 8 ขาพอวาดภาพเสร็จ แล้วอาจารย์ก็ให้ใส่รองเท้าให้มัน

    จากกิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าการวาดรูปสัตว์กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในศิลปะสร้างสรรค์ได้

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
   สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยและเพื่อให้เข้าใจตรงกัน

กิจกรรม 
อาจารย์ให้จับคู่แล้วแจกกระดาษให้คิด กิจกรรมเกี่ยวกับสาระที่ 1 สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมของข้าพเจ้า



อาจารย์มีเพลงมาให้ร้องด้วย
     
              เพลงเข้าแถว
เข้าแถวเข้าแถว     อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวเชเชือน      เดินตามเพื่อนให้ทัน
อย่าเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว

             เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง              แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า      แล้วเอามาอยู่ในท่ายืนตรง

            เพลงซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง            ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน      หันตัวไปทางนั้นแหละ

           เพลงพาเหรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1  2  3  4  5  6 / 7  8  9 / แล้วก็  10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย   ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมืองลงข้างล่าง   ซ้ายขวาซ้าย   ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเราเดินเรียงแถว  พร้อมกัน  (ซ้ำ 2  รอบ)

                                                 ดร.สุภาพร  เทพยสุวรรณ
                                                 ดร.แพง       ชินวงค์
การนำไปใช้
1.รู้ว่าเวลาเราจะสอนคณิตศาสตร์เด็กเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาศิลปะได้
2.ได้ฝึกการคิดกิจกรรมในแต่ละสาระเพื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงได้
3.ได้ฝึกร้องเพลงคณิตศาสตร์สามารถนำเพลงมาสอนเด็กและสามารถแต่งเนื้อร้องใหม่ได้แต่ใช้ทำนองเพลงเดิม







วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3



บันทึกอนุทิน
วันที่ 21  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าเรียน  08.30 เวลาเลิกเรียน 12.10

สิ่งที่ได้รับความรู้วันนี้

       วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องเค้กสามารถนำมาประยุกต์กับคณิตศาสตร์ในเรื่องใดได้บ้าง
สามารถมาประยุกต์ในเรื่อง  ราคา  รูปทรง  การแบ่ง(การแบ่งเค้ก) ขนาด  น้ำหนัก    จำนวน(เทียน)
และสามารถเกี่ยวกับเดือนได้เช่นเด็กแต่ละคนเกิดวันที่เท่าไหร่  เดือนอะไร  พ.ศอะไร เด็กจะได้รู้ศัพท์ทางคณิตศาสตร์

    ในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราเราสามารถบูรณาการนำคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องได้
อาจารย์ให้ทำหนังสือเล่มเล็ก  คณิตศาสตร์จะประกอบเรื่องอะไรบ้างแล้วก็ระดมความคิดเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์

จากนั้นให้ร้องเพลง

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า     อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว          หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า  หลั่นลา                 หลั่นหล่า  หลั่น ลันลา หลั่นลา  หลั่นล้า

 เพลงนี้เกี่ยวกับเวลา/เรียงลำดับเหตุการณ์

สวัสดีคุณครูที่รัก              หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน     หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

หนึ่งปีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดารห์นั้นมีเจ็ดวัน    อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัส  ศุกร์  เสาร์  ลัล ลา ลัล ลา

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่นการนับเลขตั้งแต่ 1-10 หรือมากว่านี้
2.ตัวเลขเป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น  มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ ให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู้กัน  เหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกัน
5.การเปรียบเทียบ เด็กอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิ่งของทั้งสองสิ่งรู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า
6.การจัดลำดับ  เป็นการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่ง เช่น เรียงตามลำดับสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
7.รูปทรงและเนื้อที่ ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้วครูต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยมจัตุรัส  สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ความกว้่าง
8.การวัด ให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทางรู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆก่อนก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน

     อาจารย์แจกกระดาษแผ่นเล็กให้ 1 แผ่น ให้เขียนเวลาที่มาถึงมหาลัยแล้วให้ออกมาหน้าห้องเกณฑ์ คือ 8.00 น  คนที่มาก่อน 8.00 ให้อยู่ทางซ้ายมือ คนที่มา 8.00 น. ให้อยู่ตรงกลาง คนที่มาหลัง8.00ให้อยู่ขวามือของอาจารย์ โดยแบ่งดังนี้
ก่อน8.00 มี     3คน
8.00  ตรงมี    4 คน
หลัง  8.00 มี  14  คน
      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน แล้วเลือกของอะไรก็ได้มา 1 ชิ้น แล้วให้ตั้งเกณฑ์ ในกลุ่มหยิบ ดินสอ  ปากกา  ยางลบ  นาฬิกา  สมุด โดยตั้งเกณฑ์ว่า อุปกรณ์การเรียนกับของใช้
การตั้งเกณฑ์สามารถแยกประเภทของสิ่งของได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การนำไปใช้
1.การจัดประสบการณ์กับเด็กต้องจัดประสบการณ์เป็นรูปธรรมและสามารถมองเห็นได้ สามารถจับต้องได้
2.สามารถนำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้
3.เราสามารถแต่งเพลงใหม่ขึ้นมาเองได้โดยใช้ทำนองเพลงเดิม
4.รู้จักนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราหรือสิ่งที่ใกล้ตัวเช่น เรื่อง เค้ก สามารถนำมาประยุกต์กับคณิตศาสตร์ได้
5.เวลาจะแบ่งกลุ่มหรือทำกิจกรรมต่างๆต้องมีเกณฑ์





วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกอนุทิน
วันที่ 14  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

             ก่อนที่จะเริ่มเรียนอาจารย์มีตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์มาให้ทายว่าจะเป็นตัวเลขเกี่ยวข้องกับอะไรมีดังนี้   350  158   60   50    4915481   ซึ่งข้าพเจ้าได้ทายถูก 1 ตัวเลข คือเลข 158 ซึ่งกี่ยวข้องกับส่วนสูงของอาจารย์  ตัวเลขที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทายล้วนเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกับชีวิตประจำวันเรา  เช่น  เลขของบ้านเลขที่   ความสูง  อายุ

เนื้อหาที่เรียนวันนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
           คณิต  หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวฯทักษะทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ  การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างภูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
         เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่                         การรู้จักสังเกต เช่น  ทำไมประตูต้องเป็นสี่เหลี่ยม   การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่  การเพิ่มขึ้นและการลดลง  จะช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปยาก ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆสามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้

แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรเพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิธีสอน  วิธีการจัดกิจกรรม  การใช้สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ  ความสนใจ และความสามาถของเด็ก
3.จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้โดยใช้ของจริง  ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
สื่อที่ใช้มี 4 ประเภท  คือ วัสดุทำเอง  วัสดุราคาถูก  วัสดุเหลือใช้  วัสดุท้องถิ่น
4.จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
5.เปิดโอกาศให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ลงมือกระทำได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
6.ฝึกให้เด็กได้คิดเเก้ปัญหาให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มีอิสระในการค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเองให้มากที่สุด
7.จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9.จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์

        เมื่ออาจารย์สอนเสร็จก็ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คนแล้วแจกใบงานให้แต่ละกลุ่มทำเป็นMind  map ของตนเองก่อนแล้วก็ให้ทำ Mind map กลุ่มช่วยกันระดมความคิดพอทำ Mind  map กลุ่มเสร็จก็ไปเรียนรู้หัวข้ออื่นจากกลุ่มอื่นแล้วมีตัวแทนของกลุ่ม 1 คนอยู่ประจำกลุ่มเพื่ออธิบายเรื่องที่อาจารย์มอบหมายอธิบายเพื่อนกลุ่มอื่นให้เข้าใจ

การประยุกต์ใช้
1.เวลาจัดกิจกรรมให้เด็กต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กไม่ยากจนเกินไปจนเด็กทำไม่ได้ต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจและความสามารถของเด็กได้
2.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นได้
3.ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มได้เสนอและแสดงความคิดเห็นได้รู้จักการปรับตัวเข้ากับเพื่อนในกลุ่มรู้จักการทำงานเป็นทีม








บันทึกอนุทินครั้งที่1



บันทึกอนุทิน
วันที่  7 พฤษศจิกายน  2556
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


           วันนี้อาจารย์ได้อธิบายว่าวิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้อธิบายเกณฑ์การให้คะแนนและการแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ
เสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดในหัวข้อ  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง