วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย


ชื่อวิจัย   การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟ- ชูคเวิร์ค

ผู้วิจัย  วรินธร  สิริเตชะ

ความมุ่งหมายของงานวิจัย   เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวคิดแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการวิจัยจะเป็นแนวทางให้ครูกับผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้เลือกใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางคณิตสาสตร์ของเด้กปฐมวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กโดยรับประสบการณ์ดนตรี
ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการวิจัย
  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เด็กปฐมวัยชาย-หญิง  อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549  ภาคเียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณ  จังหวัด สมทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานการศึกษาสมุทรปราการ  เขต 2 จำนวน 30 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

การดำเนินการทดลอง
ทำการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที
ทดลองในช่วงเวลา 9.10-9.50 รวม 24 ครั้ง มีขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความคุ้นเคยกับเด็กในกลุ่มทดลอง
2.ทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง
3.ผู้วิจัยทำการทดลองด้วยตนเองตามแผนการจัดประสบการณ์โดยทดลองสัปดาห์ละ 3วัน วันละ 40 นาที ในช่วง 9.10-9.50 ของวันจันทร์ พฤหัสบดี  ศุกร์
4.เมื่อดำเนินการไปจนครบ 8 สัปดาห์ผู้วิจัยทำการทดลองหลังการดลองกับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนทดลอง จำนวน 2 วัน วันละ 2 ชุด
5.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห๋ข้อมูลทางสถิติ

สรุปผลการวิจัย
       ดนตรีมีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ เมื่อเราสอนดนตรีโดยใช้จังหวะนำเด็กเด็กนำกิจกรรมที่ได้เียนมาร้องเล่นกับนอกเวลา เช่น เด็กร้องเพลงตามทั้งนับจำนวนของสัตว์ต่างๆไปด้วยความสนุกสนาน นับเลขต่างๆอย่างเพลิดเพลินและเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้เล่น ได้ร้อง ได้ฟัง เด็กจะมีสมาธิและเข้าถึงดนตรีและทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้เร็วขึ้น ได้แสดงอารมณื ความรู้สึกโดยมีกิจกรรมดนตรีเป็นสื่อกลาง และสิ่งเหล่านั้นทำให้เด็กค่อยๆซึมซับความเข้าใจของเนื้อหากิจกรรมโดยเฉพาะเนื้อหาในเชิงคณิตศาสตร์



วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


       อาจารย์พูดเกี่ยวกับ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ตั้งแต่สาระที่1-สาระที่4 และพูดถึงแต่ละสาระว่าเราจะมีวิธีการสอนหรือจัดกิจกรรมเ็ด็ก อย่างไรโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.เนื้อหาที่จะสอน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.ใช้ Mind map ในการสอน
4.จัดอันดับความสำคัญ
5.ลำดับขั้นตอนในการสอน
6.ทำสื่อ

          เวลาเราจะสอนเด็กเราต้องกำหนดหน่วยของเราที่จะสอนเด็ก โดยหน่วยที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น เรื่องน้ำท่วม เมื่อมีเนื้อหาเราก็เรียงงลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่จะสอนทั้งห้าวันนั้นว่าแต่ละวันนั้นเราจะสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรแล้วจึงนำมาเขียนแผนในแต่ละวันและเตรียมการสอนต่อไป

เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มมานำเสนอแผ่นพับเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ปกครอง
มีทั้งหมด 5 กลุ่ม
มี1.  ประโยชน์และโทษของไก่
   2.  ส่วนประกอบของไก่
   3.  ชนิดของไก่
   4. ลักษณะของไข่
  5.  การดูแลรักษาไก่

ประเมินตนเอง  รู้สึกตื่นเต้นมากที่ออกไปนำเสนอแผ่นพับหน้าห้องและได้เห็นข้อผิดพลาดของกลุ่มของตัวเองและกลุ่มเพื่อนๆแล้วสามารถนำจุดบกพร่องนำมาแก้ไขต่อไปได้
ประเมินเพื่อน   เพื่อนบางคนฟังอาจารย์บางคนก็ไม่ฟังอาจารย์สอนเมื่อเพื่อนมีข้อสงสัยก็ยกมือถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์  อาจารย์สรุปทบทวนเนื้อหาให้นักศึกษาและนัดวันเวลาสอบและส่งงานและตอบคำถามที่นักศึกษาสงสัยได้ดีค่ะ


วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วันที่ 6  กุมภาพันธ์  2557
เวลาเรียน  8.30  เวลาเลิกเรียน  12.20 

วันนี้อ.ให้สรุปเขียน Mind map เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมา



                     อ.ก็ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผ่นพับของแต่ละวันที่ได้นำเสนอไปเพื่อให้เป็นความรู้กับผู้ปกครองที่สามารถนำคณิตศาสตร์ไปสอนลูกได้ที่บ้านและในการใช้ีวิตประจำวันก็สามารถสอดแทรกคณิตศาตร์ได้อีกด้วย
                   พอช่วยกันคิดเสร็จว่าในแผ่นพับนี้ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างก็ออกไปนำเสนอที่หน้าห้องเพื่อให้อ.แนะนำว่าควรจะเพิ่มเติมอะไรไปได้บ้าง

ประเมินตนเอง   รู้สึกว่าตนเองไม่รู้จะเขียน Maid  Map  อย่างไรเพราะไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงคำพูดอะไรออกมาแต่ก็เขียนเฉพาะที่ตนเองพอจำได้บ้าง
ประเมินเพื่อน    เพื่อนแต่ละคนตั้งใจเขียน Maid  Map  และตกแต่งอย่างสวยงามพออาจารย์ให้ทำงานเกี่ยวกับการทำแผนพับก็ระดมความคิดช่วยกันทำงานกับหน่วยที่ตนได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์  เวลานักศึกษาออกไปนำเสนองานอาจารย์ให้คำปรึกษาได้ดีมากค่ะ



วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : การสอนคณิตศาสตร์ : หน้าต่างปริศนา - Teaching Math: A Video Library, K-4 : Window Puzzle


Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : การสอนคณิตศาสตร์ : หน้าต่างปริศนา - Teaching Math: A Video Library, K-4 : Window Puzzle


สรุปการสอนคณิตศาสตร์ :  หน้าต่างปริศนา

   เป็นการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้หน้าต่างปริศนาที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แบ่งออกเป็น 4 ช่อง เท่ากันโดยให้ใส่แผ่นสีลงในแต่ละช่องจำนวนกี่ชิ้นก้ได้ไม่เกิน 7 ชิ้น  พอใส่ครบทั้ง4 ช่องก็ให้บวกเลยในแนวนอน แล้วก็บวกเลขในแนวตั้งแล้วครูจึงให้เด็กสร้างหน้าต่างปริศนาเองโดยให้เด็กใส่จำนวนแผ่นสีหรือเขียนตัวเองใส่ในช่องสี่เหลี่ยมเองแล้วก็บวกเลขเอง และครูจะถามเด็กๆว่ามีวิธีคิดเลขอย่างไรให้เด็กได้อธิบายคำตอบที่เด็กตอบนั้นครูจะได้รู้ว่าเด็กมีกระบวนการคิดอย่างไร บทเรียนของวันนี้เด็กได้การบวกเลขจากหน้าต่างที่ตนเองสร้างขึ้นมา

อนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่ 30  มกราคม  2557
เวลาเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

                     อ.จารย์ ทบทวนเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ แล้วก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์

กลุ่มที่ 2 วันอังคาร เรื่องลักษณะของไข่



     กลุ่มนี้ ขั้นนำโดยเป็นคำคล้องจองของไข่ให้เด้กฟังแล้วก็ถามเด็กๆว่าไข่มีกี่ชนิดถามจากเพลงที่ร้องให้เด็กฟัง แล้วถามเด็กๆว่าเด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้าง เสร็จแล้วก้เขียนเป็นแผนผังความคิดให้เด็กดูจากนั้นก็ให้เด็กได้สัมผัสกับไข่ที่ครูเตรียมมา คือ ไข่เป็ด ไข่ไก่ และ ไข่นกกระทา แล้วให้เด็กๆออกมาทำกิจกรรมหน้าห้องให้ติดลักษณะของไข่ว่ามีรูปทรง  ขนาด  สี  ส่วนประกอบ อะไรบ้าง  


       วันนี้เราเรียนเรื่องไข่              มีทั้งใบใหญ่  ใบกลาง  ใบเล็ก
      จำไว้นะพวกเด็กๆ                   มีทั้งใบเล็ก ใบกลาง  ใบใหญ่
ไข่ไก่สีเนื้อน่ากิน                      ใครได้ลองชิมแล้วจะติดใจ
         ไข่เป็ดสีขาวนวลใส                  กินแล้วปลอดภัยร่างกายแข็งแรง
  ไข่นกกระทาสีขาวลายจุด       ใบเล็กที่สุดอร่อยเหลือแสน
      ผิวขรุขระเรียบแบบ                กลิ่นไข่นี้แสนเหม็นคาวสิ้นดี
  รูปร่างกลมๆรีรี                           ที่กล่าวมานี้คือลักาณะไข่เอย



กลุ่มที่ 3 วันพุธ เรื่องส่วนประกอบของ ไก่




กลุ่มนี้ ขั้นนำให้เด็กได้เปิดรูปภาพปริศนาแล้วให้ทายว่าเป็นรูปอะไรเสร็จแล้วก็อธิบายส่วนประกอบของไก่แล้วให้เด้กออกมาติดจำนวนของส่วนประกอบของไก่จากนั้นครูสรุปเป็นแผนผังให้เด็กได้ดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น


กลุ่มที่ 4 วันพฤหัสบดี  เรื่องประโยชน์และโทษของไก่



กลุ่มนี้  ขั้นนำจะเล่านิทานเรื่องกุีกไก่ให้เด้กฟังโดยแทรกเนื้อหาประโยชน์และโทษของไก่ผ่านนิทานแล้วให้เด็กๆช่วยกันนับไข่ไก่ที่แม่ไก่ได้ออกไข่จากนิทานที่เล่า

กลุ่มที่ 5  วันศุกร์  การดูแลรักษาไก่ 




กลุ่มนี้ จะมีคำคล้องจองเรื่องไก่  แล้วมีวีดีโอให้เด็กดูแล้วก็มีกิจกรรมให้เด็กทำด้วย

จากที่ทุกกลุ่มได้ออกมานำเสนออาจารยืก็จะให้คำแนะนำทุกครั้งและก็ให้ทุกคนไปอัดวีดีโอการสอน

ประเมินตนเอง  วันนี้ตื่นเต้นมากที่ได้ออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์และสนุกสนานในการดูกลุ่มอื่นที่ออกมานำเสนอ
ประเมินเพื่อน   เพื่อนตั้งใจฟังกลุ่มที่ออกมานำเสนอและฟังคำแนะนำจากอาจารย์
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ให้คำแนะนำกับทุกกลุ่มที่ออกมานำเสนอว่ามีข้อที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง